หน้าแรก ข้อมูลพื้นฐาน กิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ การจัดซื้อจัดจ้าง ติดต่อเทศบาล
***ยินดีต้อนร้อบสู่รอมมาฎอนอัลมูรอก ขอให้ประชาชนเทศบาลร่วมกันทำอามาลในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ และปฏิบัติตนให้ปลอดจากโคโรน่า(COVId-19)และห่างไกลจากภัยอันตรายต่างๆ  อามีน
เมนูหลัก
หน่วยงานภายใน
 ผู้บริหารเทศบาลตำบลตันหยง
 สมาชิกสภาเทศบาล
 สำนักงานปลัดเทศบาล
 กองคลัง
 กองช่าง
 กองการศึกษา
 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
 กิจการประปา
 
 
1. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลตันหยงเป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยลังกาสุกะ  ซึ่งได้ทิ้งหลักฐานโบราณสถานเก่าแก่  คือ  มัสยิดอาโห(อาวร์) 400 ปี  สร้างขึ้นในยุคแรก  ๆ ที่ชาวปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลาม  เป็นเมืองที่เจริญมากในอดีต เป็นเมืองท่าเทียบเรือที่สำคัญเป็นศูนย์กลางการค้าขายเมื่อการคมนาคมได้เปลี่ยนแปลงจากทางน้ำเป็นทางบกการค้าขายจึงได้ถดถอยลงไปด้วย  และได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506  ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ  เป็นเทศบาลตำบลตันหยงเมื่อวันที่  25  พฤษภาคม พ.ศ. 2542  ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาล  พ.ศ.2542  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่  116  ตอนที่ 9 ก ลงวันที่  24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ที่ 408  หมู่ที่ 2 ตำบลมะนังยง  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2   ทั้งหมดในตำบลมะนังยง และหมู่ที่ 1 (บางส่วน) ตำบลมะนังยง   อำเภอยะหริ่ง  มีพื้นที่ประมาณ 1.35 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ  19  กิโลเมตร  และอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ  1,047  กิโลเมตร
 
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มลักษณะเป็นดินเหนียวปนทรายเหมาะแก่การทำการเกษตร และเป็นที่อยู่อาศัยมีคลองตันหยงแบ่งแนวเขตทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 1.00   กิโลเมตร 
 
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่เทศบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.0 องศาเซลเซียส  ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น  3  ฤดู คือ ฤดูร้อน  จะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,816.30  มิลลิเมตรต่อปี (*ข้อมูลระหว่างปี 2556 – 2559)
 
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินมีสภาพพื้นที่เป็นดินเหนียวปนทรายเหมาะแก่การทำการเกษตร และเป็นที่อยู่อาศัย
1.5 ลักษณะแหล่งน้ำ
                   แหล่งน้ำบนพื้นดิน เทศบาลมีแม่น้ำสายหลัก คือ คลองตันหยงมีน้ำไหลผ่านตลอดปี มีการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม  เพื่อใช้ประโยชน์ในการคมนาคม  การประมงและทำการเกษตร และบางพื้นที่มีการขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร
                   แหล่งน้ำใต้ดิน  จากการสำรวจพบว่าในพื้นที่เทศบาลมีปริมาณน้ำจืดอยู่ใต้ผิวดินที่มีคุณภาพ และจำนวนมาก ซึ่งสามารถขุดเจาะเป็นแหล่งน้ำประปาใช้เป็นน้ำดื่มได้มีคุณภาพ
 
2. ด้านการเมืองและการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลมีพื้นที่ประมาณ 1.35 ตารางกิโลเมตร  คลุมพื้นที่  หมู่ที่  2  ตำบลมะนังยง  เกือบทั้งหมด  และหมู่ที่ 1  (บางส่วน)  ของตำบลมะนังยง   อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี  สำนักงานเทศบาลตำบลตันหยง  ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  2   ตำบลมะนังยง  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  มีเส้นทางการคมนาคมตามเส้นทางหลวงแผ่นดิน  สาย 42 (ถนนเพชรเกษม) ประกอบด้วย 4 ชุมชน ดังนี้
  1. ชุมชนอาโห                              2) ชุมชนตลาด
  1. ชุมชนมะขามหวาน                      4) ชุมชนชะเอาะ
 
มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

  
 
 
 
 
 
 
 
 

ทิศเหนือ               ติดต่อกับ  หมู่ที่  1        ตำบลมะนังยง        อำเภอยะหริ่ง
ทิศใต้                  ติดต่อกับ  หมู่ที่ 3,5       ตำบลมะนังยง        อำเภอยะหริ่ง
ทิศตะวันออก         ติดต่อกับ  หมู่ที่ 2         ตำบลตันหยงดาลอ  อำเภอยะหริ่ง
ทิศตะวันตก           ติดต่อกับ  หมู่ที่ 4         ตำบลมะนังยง        อำเภอยะหริ่ง
 
2.2 การเลือกตั้ง
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๕๒ และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และ ระเบียบคณะกรรมการ การเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๔  
  1. ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
เทศบาลตำบลตันหยง ประกอบด้วยผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง จำนวน  1  คน และสมาชิกสภาท้องถิ่น จำนวน  12  คน  แบ่งเป็น  ๒  เขตเลือกตั้งๆ ละ 6 คน 
  1. เขตการเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้งที่ ๑ เริ่มจากทางหลวงแผ่นดินปัตตานี-นราธิวาส(ถนนเพชรเกษม)ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๔+๖๐๐ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๒ จากหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๒ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงหลักเขตเทศบาลหลักเขตที่ ๓ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงหลักเขตเทศบาลหลักเขตที่ ๔ จากหลักเขตเทศบาลหลักเขตที่ ๔ เลียบถนนริมคลองไปจนถึงทางหลวงแผ่นดินปัตตานี-นราธิวาส(ถนนเพชรเกษม)ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๕+๘๐๐ และเลียบทางหลวงแผ่นดินปัตตานี-นราธิวาส(ถนนเพชรเกษม) ไปด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจรดหลักกิโลเมตรที่ ๒๔+๖๐๐
                      เขตเลือกตั้งที่ 2 เริ่มจากหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๑ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลด้านทิศตะวันออเฉียงเหนือจนถึงทางหลวงแผ่นดินปัตตานี-นราธิวาส(ถนนเพชรเกษม) ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๔+๖๐๐ และเลียบทางหลวงแผ่นดินปัตตานี-นราธิวาส(ถนนเพชรเกษม)ไปด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๒๕+๘๐๐ จากหลักกิโลเมตรที่ ๒๕+๘๐๐ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลด้านทิศใต้จนถึงหลักเขตหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๕ จากหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๕ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลด้านทิศตะวันตกจนถึงหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๖ จากหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๖ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงหลักเขตเทศบาลหลักเขตที่ ๗ และจากหลักเขตเทศบาลหลักเขตที่ ๗ ไปตามเส้นแนวเขตเทศบาลด้านทิศเหนือจรดหลักเขตเทศบาลหลักที่ ๑
  1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 18 ปี ขึ้นไป
 
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ณ วันที่ จำนวน
(คน)
หมายเหตุ
วันที่ 1 พ.ค. 2559 1,813
วันที่ 24 พ.ค. 2562 1,873
* ข้อมูล ณ วันที่ 30  พฤษภาคม 2562
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลประชากร
ประชากรในพื้นที่เทศบาลมีทั้งสิ้น จำนวน  2,463  คน  แยกเป็นชาย  1,163 คน  หญิงจำนวน  1,300  คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1,824  คนต่อตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย  699  หลังคาเรือน  มีครัวเรือนจำนวน  528  ครัวเรือน
 
ชุมชน ครัวเรือน ประชากร หมายเหตุ
ชาย หญิง รวม
  1. ชุมชนอาโห
65 173 183 356
2.  ชุมชนตลาด 193 325 413 738
3.  ชุมชนมะขามหวาน 118 221 256 477
4.  ชุมชนชะเอาะ 140 263 293 556
รวม 516 982 1,145 2,127
*(ข้อมูล จปฐ. ระดับ อปท ปี 2562)
3.2 ประชากรแยกตามอายุ
 
ประชากร ชาย หญิง รวม หมายเหตุ
1. เยาวชนอายุ ต่ำกว่า 18 ปี 234 360 651
2. ประชากรอายุ 18 - 59 ปี 561 612 1,173
3. ประชากรอายุมากว่า 60 ปี 130 173 303
รวม 982 1,145 2,127
*(ข้อมูล จปฐ. ระดับ อปท ปี 2562)
 
3.3 ประชากรผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/เด็กกำพร้า
 
ประชากร ชาย หญิง รวม หมายเหตุ
  1. เด็กกำพร้า
13 12 25
  1. ผู้สูงอายุ
90 138 228
  1. ผู้พิการ
54 27 81
รวม 157 177 334
*(ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม  2562)
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
  1. การศึกษาของประชาชน
สถานศึกษา ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน)
1. ต่ำกว่าประถมศึกษา 160 196 356
2. ระดับ ประถมศึกษา ป.1-ป.6 308 397 705
3. ระดับ มัธยมศึกษา ม.1-ม.6 350 407 757
4. ระดับ อนุปริญญา – ปริญญาตรี 152 149 301
5. ระดับ สูงกว่าปริญญาตรี 12 16 28
รวม 982 1,145 2,147

  1. 2) สถานศึกษา
สถานศึกษาในพื้นที่เทศบาลมีสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)จำนวน 1  แห่ง คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552  สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จำนวน 1 แห่ง และสังกัดการศึกษาเอกชน(สช.) จำนวน  2  แห่ง และสถานศึกษาการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จำนวน 6 แห่ง  
 
สถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน หมายเหตุ
  1. สถานศึกษาในระบบ
 
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล 2 44
2. โรงเรียนบ้านตันหยง 23 207
3. โรงเรียนกูตงวิทยา 33 327
4. โรงเรียนปัญญาพัฒน์พิทยา 13 157
  1. สถานศึกษาตามอัธยาศัย(นอกระบบ)
5. สถาบันปอเนาะดารุลอารกอม(บาตูกูนิง) 3 20
6. โรงเรียนตาดีกาญามีอุลวุสตอร์(ตาดีกาอาโห) 7 99
7. โรงเรียนตาดีกาดารุลมุตตากีน(ตาดีกาชะเอาะ) 11 95
8. ศูนย์สอนกีรออาตีอาโห 7 89
9. ศูนย์สอนกีรออาตีชะเอาะ 7 87
10. ศูนย์เด็กกำพร้าและผู้ยากไร้
รวม 106 1,125


4.2 สาธารณสุข
1) ข้อมูลด้านสาธารณสุข
             เทศบาลได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งในเขตเทศบาลมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน  1  แห่ง  ประชาชนได้รับการบริการอย่างดี  และไปใช้บริการของโรงพยาบาลอำเภอยะหริ่ง  เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเทศบาลมากนักและไปมาได้สะดวก เทศบาลได้จัดกิจกรรม  จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน      ด้านสาธารณสุข  การป้องกันและโทษยาเสพติด  โรคเอดส์  การกำจัดขยะที่ถูกต้อง  การกำจัดยุงและสัตว์ซึ่งเป็นพาหนะนำโรค
เทศบาลมีการสนับสนุนด้านการกีฬา นันทนาการ สถานที่พักผ่อน ซึ่งเทศบาลมีสนามกีฬาฟุตบอล  จำนวน 1  แห่ง  สนามฟุตซอล จำนวน 2 แห่ง และสถานีออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอยู่รอบๆ สนามกีฬา และในชุมชนได้ติดตั้งชุดเครื่องมือออกกำลังกายภาคสนาม เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
2) ข้อมูลการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล
 เทศบาลมีการบริหารการจัดการขยะดังนี้                         
2.1) รถยนต์บรรทุก ซื้อเมื่อ พ.ศ. 37/46/57            จำนวน           3        คัน
2.2) ปริมาณ                                                จำนวน           2.34   ตัน/วัน
2.3) ขยะที่เก็บขนได้                                       จำนวน           1.9     ตัน
2.4) ที่ดินทิ้งขยะ                                           จำนวน           4        ไร่
2.5) ขยะกำจัดโดยเททิ้งปุ๋ยชีวภาพ   หมู่ที่ 4  ตำบลมะนังยง
2.6) มีพื้นที่ทิ้งขยะสามารถทิ้งได้ ประมาณ      5   ปีกว่า
4.3 อาชญากรรม
     เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และการดำเนินกิจการต่างๆ ของเทศบาลไม่เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ และยังไม่มีสัญญาณที่จะดีขึ้นได้ทำให้กระทบกับการพัฒนาทุกๆ ด้าน
4.4 ยาเสพติด
          ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นหลัก คือกลุ่มเยาวชนนอกพื้นที่ที่เข้ามาชักชวนเยาวชนในพื้นที่ไปมั่วสุ่มยาเสพติดที่อื่น 
4.5 การสังคมสงเคราะห์
การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ เทศบาลได้จัดสวัสดิการแก่คนชรา คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล
 
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมขนส่ง  เส้นทางคมนาคมหลักที่ใช้สัญจรเข้าสู่เทศบาลตำบลตันหยง  ได้แก่  ทางหลวงแผ่นดินสาย 42 (ถนนเพชรเกษม) สายปัตตานี-นราธิวาส  ผ่านกลางเขตเทศบาล  นอกจากนี้ยังมีถนนสายหลักในเขตเทศบาลอีก  6  สาย  และซอยต่าง ๆ หลายซอยใช้เวลาประมาณ 25 นาที  ในการเดินทางเข้าถึงตัวเมืองปัตตานี
 
รายการ จำนวน
(สาย)
หมายเหตุ
  1. ถนนแอสฟันท์ติก
7
  1. ถนนคอนกรีต
12
  1. ถนนลูกรัง
2
  1. สะพาน
1
  1. อื่นๆ
1
รวม 23
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 









5.2 การไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอมายอเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในเขตเทศบาล เทศบาลได้ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะไปครอบคลุมทุกพื้นที่รับผิดชอบ  ประชาชนส่วนใหญ่มีไฟฟ้าใช้  มีบางครัวเรือนเท่านั้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากอยู่ในช่วงกำลังดำเนินการ หรือขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึงทุกจุด
5.3 การประปา
การประปา ภายในเขตเทศบาลตำบลตันหยงได้รับการบริการน้ำอุปโภค บริโภค  จากกิจการประปาเทศบาลตำบลตันหยงเกือบทั่วถึงทั้งพื้นที่มีบางส่วนที่ยังไม่มีงบประมาณขยายเขตการให้บริการได้  มีผู้ใช้ประปา  จำนวน  739  ครัวเรือน  มีอีกบางส่วนที่เทศบาลยังไม่มีงบประมาณเพียงพอขณะนี้เทศบาลมีกำลังผลิตน้ำสูงสุด 480 ลบ.ม/วัน  จ่ายน้ำให้บริโภคใช้น้ำประมาณ 410  ลบ.ม/วัน น้ำที่ผลิตมีคุณภาพดีมากใช้แหล่งน้ำบ่อบาดาล จำนวน  4  บ่อ
5.4 โทรศัพท์
โทรศัพท์ในเขตเทศบาลตำบลตันหยงใช้บริการจากชุมสายอำเภอเมืองปัตตานี  มีโทรศัพท์ใช้  จำนวน  206  ราย
5.5 ไปรษณีย์
-
6. ระบบเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ค้าขาย และ อาชีพการเกษตร บางรายไม่มีอาชีพที่แน่นอน  รายได้ต่อหัวประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ      39,000  บาท/คน/ปี
6.1 การเกษตร
     การเกษตรกรรม ผลผลิตทางเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว การประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นลักษณะทำนาปี
 
 
6.2 การท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลตันหยงเป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยลังกาสุกะ  ซึ่งได้ทิ้งหลักฐานโบราณสถานเก่าแก่  คือ  มัสยิดอาโห(อาวร์)  สร้างขึ้นในยุคแรก  ๆ ที่ชาวปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลาม  ซึ่งเชื่อกันว่าวิถีชีวิตและความเชื่อของศาสนาเดิม เช่น ฮินดู  และพุทธก็ยังมีอยู่  ดังนั้นรูปและโครงสร้างของมัสยิดดูจะคล้ายกับสถาปัตยกรรมแบบพุทธ  คือคล้ายกุฏิเล่าต่อจากผู้อาวุโสหลาย  ๆ รุ่น  ในชุมชนว่ามัสยิดอาโหเดิมสร้างอยู่ริมแม่น้ำตันหยง  แต่ประสบกับน้ำท่วมถึงทุกปี  ประชาชนจึงได้ร่วมกันยกมัสยิดนี้ไปไว้ในที่สูงที่ซึ่งอยู่ในปัจจุบัน  ผู้อาวุโสคนเดียวกันเล่าว่าตั้งแต่จำความกันได้มัสยิดนี้ตั้งอยู่ที่นี้แล้ว  จึงไม่ทราบว่าได้ย้ายมากี่ร้อยปีมาแล้วและจะเป็นคำตอบที่ยากยิ่งว่ามัสยิดนี้สร้างมาสมัยใด แต่หากดูสถาปัตยกรรมแล้วน่าจะเชื่อได้ว่าเป็นยุคแรก ๆ ของอิสลามเพราะลักษณะอาคาร  ยังไม่มีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอิสลาม  แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากหลักฐานที่พบเห็นที่เก่าแก่ที่สุดคือหินบนหลุมฝังศพของมุสลิมที่เสียชีวิต สุเหร่าอาโห เป็นศาสนสถานที่ยังคงใช้อยู่  ปัจจุบันชุมชนได้ซ่อมแซมและเสริมฐานของมัสยิดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น  และมีการสร้างบันไดเพิ่มเติมด้านหน้าประตูทางเข้า  ตลอดจนการสร้างอาคารอเนกประสงค์เล็ก ๆ อยู่ด้านขวาของอาคารมัสยิดทำให้ทัศนียภาพของมัสยิดถูกบดบังไปบางส่วน  อย่างไรก็ตามประตู  หน้าต่าง  ตลอดจนช่องลม  ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง  ยังมีไม้แกะสลักลายดอกไม้สวยงาม  ประดับอยู่ถึงแม้จะไม่ครบทุกบานและทุกช่อง  แต่ก็ยังสามารถชื่นชมความงดงามในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีตอีกมาก
มัสยิดอาโห(อาวร์)     ตั้งอยู่ในหมู่บ้านตันหยง     ห่างจากสำนักงานเทศบาลตำบลตันหยง  ประมาณ  1  กิโลเมตร  นอกจากมัสยิดอาโหแล้วยังมีโบราณสถานที่ควรแก่การศึกษาซึ่งได้ทิ้งร่องรอยของความเจริญไว้ในอดีตคือมีบ่อน้ำเก่าแก่  มีทัศนียภาพของเมืองที่สวยงามคือมีแม่น้ำตันหยงตั้งอยู่ย่านศูนย์กลางตลาดตันหยงหากปรับปรุงริมแม่น้ำสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังจะมีทัศนียภาพที่สวยงามมากยิ่ง  อีกทั้งประชาชนมีความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมเรียบร้อยง่ายมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถตัดเย็บเสื้อตะโละบลางอ  (เสื้อสุภาพบุรุษ)  ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลามได้อย่างประณีตสวยงาม  และชาวบ้านยังสามารถทำขนมหม้อแกงเป็นขนมพื้นเมืองมีชื่อมาตั้งแต่โบราณสิ่งเหล่านี้จึงเป็นจุดสำคัญยิ่งที่เทศบาลฯ จะต้องส่งเสริมการจัดทำร้านค้าริมทางและประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่ผ่านชุมชนเทศบาลตันหยงต่อไป
6.3 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ประชากรจะร่วมกันตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่นบริเวณตลาดนัดตันหยง  ซึ่งเป็นชุมชนเก่าดั้งเดิมสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของเทศบาลตำบลตันหยง  ขึ้นอยู่กับการค้าขาย  ตัดเย็บ  และเกษตรกรรมเป็นหลัก
โดยมีร้านค้าต่าง ๆ ดังนี้
  1. ร้านค้าในเขตเทศบาล
                       
รายการ รวม  
หมายเหตุ
1. ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด 24
2. ร้านซ่อมรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 7
3. ร้านวัสดุก่อสร้าง 3
4. ร้านขายอาหาร 10
5. ร้านคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต 5
รายการ รวม หมายเหตุ
6. ร้านตัดผม 4
7. ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า 14
8. ร้านทำฟัน 4
9. ร้านทอง 1
10. ร้านขายยา 1
11. ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ 2
12. ร้านถ่ายรูป 1
13. ร้านคาร์แคร์ 1
14. ร้านจำนำทะเบียนรถ 1
รวม 80
 
  1. กลุ่มอาชีพชุมชนเทศบาล
 
กลุ่มอาชีพ กรรมการ ผลิตภัณฑ์
  1. กลุ่มขนมปุตรีอายู
8 ทำขนม
  1. กลุ่มน้ำจิ้มบุหงาตันหยง
7 ทำน้ำจิ้ม
  1. กลุ่มวานีตา(ตันหยง)
8 ผลิตเสื้อสตรี
  1. กลุ่มฮิญาบชะเอาะยายา
8 ผ้าคลุมฮีญาบ
  1. กลุ่มน้ำยาล้างจาน
9 ผลิตน้ำยาล้างจาน
  1. กลุ่มนวดฝาเท้าพิมเสนน้ำ
7 นวดเพื่อสุขภาพ
  1. กลุ่มจักสานแฟนซี
9 ผลิตภัณฑ์จักสาน
  1. กลุ่มกระเช้าคุณนาย
11 ผลิตกระเช้า
  1. กลุ่มบุหงาตันหยง
10 ผลิตเสื้อผ้า
  1. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป
7 แปรรูปผลิตภัณฑ์
  1. กลุ่มไข่เค็ม
9 แปรรูปไข่เค็ม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
















 
6.4 แรงงาน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ค้าขาย และ อาชีพการเกษตร บางรายไม่มีอาชีพที่แน่นอนไปเปิดร้านอาหารหรือเป็นแรงงานในประเทศมาเลเซีย
 
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
  1.  1 ข้อมูลพื้นฐาน
ประชากรในพื้นที่เทศบาลมีทั้งสิ้น จำนวน  2,463  คน  มีครัวเรือน จำนวน  528  ครัวเรือน
 
ชุมชน ครัวเรือน ประชากร พื้นที่
( ไร่ )
ชาย หญิง รวม
  1. ชุมชนอาโห
65 173 183 356 148
2.  ชุมชนตลาด 193 325 413 738 127
3.  ชุมชนมะขามหวาน 118 221 256 477 243
4.  ชุมชนชะเอาะ   140 263 293 556 352
*(ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน  2559)
  1. 2 ข้อมูลด้านการเกษตร
 
ประเภททำการเกษตร ครัวเรือน พื้นที่
( ไร่ )
ผลผลิต
(ก.ก.)
หมายเหตุ
  1. ทำนา
30 79 -
  1. ทำสวน
26 54 -
  1. ทำไร่
34 64 -
  1. อื่นๆ
- - -
 
  1. 3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
  1. ปริมาณน้ำฝน
สภาพพื้นที่เทศบาล มีภูมิอากาศแบ่งออกเป็น  3  ฤดู คือ ฤดูร้อน  จะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,816.30  มิลลิเมตรต่อปี
 (*ข้อมูลระหว่างปี 2556 – 2561)
  1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
 
แหลางน้ำ ประเภทแหล่งน้ำ หมายเหตุ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
(แห่ง)
มนุษย์สร้างขึ้น
(แห่ง)
  1. คลอง
1 -
  1. บ่อบาดาล
- 5
  1. บ่อน้ำตื้น
- 4
  1. อื่นๆ
- -
 
  1. 4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้(น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค)
 
แหล่งน้ำ จำนวน
(แห่ง)
การใช้งาน
(แห่ง)
หมายเหตุ
  1. บ่อบาดาลสาธารณะ
5 4
  1. บ่อน้ำตื้น
4 4
  1. ประปาเทศบาล
1 1
  1. อื่นๆ
- -
 
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
  1.  1 การนับถือศาสนา
ประชากรชุมชนเทศบาล ที่นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ  99.84  และมีประชากรที่นับถือศาสนาอื่น ๆ ประมาณร้อยละ  0.16  
  1. 2 ศาสนสถานสถานที่ประกอบศาสนิก จำนวน  7  แห่งประกอบด้วย มัสยิดจำนวน  2  แห่ง  และสุเหร่า  จำนวน  5  แห่ง ดังนี้
  1. มัสยิดยามีอุลวุสตอร์(มัสยิดชุมชนตลาด)
  2. มัสยิดดารุลมุตตากีน(มัสยิดชุมชนชะเอาะ)
  3. สุเหร่าอาโห
  4. สุเหร่าตลาด
  5. สุเหร่ามะขามหวาน
  6. สุเหร่าบาตูกูนิง
  7. สุเหร่าสายกูตง
        8.3 ที่ดินสาธารณะ(กูโบร์)ที่ดินสาธารณะ(กูโบร์) มีจำนวน  8  แห่ง  ดังนี้
  1. กูโบร์ชุมชนตลาด           จำนวน 4  แห่ง
  2. กูโบร์ชุมชนมะขามหวาน จำนวน  2 แห่ง
  3. กูโบร์ชุมชนชะเอาะ        จำนวน 2 แห่ง
  1. 4 ประเพณีและงานประจำปี
  1. งานวันอาซูรอในวันขึ้นปีใหม่ของอิสลาม
  2. งานเมาลิดดินนบี
  3. งานวันอีดิลฟิตรี(วันรายอหลังถือศีลอด)
  4. งานวันอีดิลอัฎฮาร์ (วันรายอฮัจย์)
  5. งานการแข่งขันว่าวท้องถิ่น
         8. 5 ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลตำบลตันหยง ยังไม่มีมลภาวะหรืออากาศเป็นพิษ  หรือเสียงรบกวน – สารพิษ  เสียงดังจากรถยนต์ผ่านไปมา  แต่สภาพทั่วไป  ยังเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท  ประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น  เฉพาะบริเวณย่านการค้า  ตลาดนัดตันหยง  การจัดเก็บขยะมูลฝอย  หรือสิ่งปฏิกูลใช้วิธีเผา  ฝัง  กลบ  ยังไม่มีวิธีการกำจัดขยะที่ถูกวิธีเนื่องจากขาดงบประมาณในการดำเนินการ แต่ในอนาคตจะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นให้ได้
 
9. การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัย
การอำนวยการความปลอดภัยในชีวิต / ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชนเทศบาลได้ประสานกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ยะหริ่ง  ได้จัดสถานที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ประจำในเขตเทศบาลเพื่อสอดส่องดูแล  อาชญากรรม  และควบคุมยวดยาน  พาหนะให้ถูกกฎจราจร  นอกจากนั้นได้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้ตามอาคารบ้านเรือน  และเตรียมพร้อมด้านเครื่องมือ  มีรถยนต์ดับเพลิง  ถังเคมีดับเพลิง  และจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจเยี่ยมราษฎรในยามวิกาล  ตลอดจนอบรมเจ้าหน้าที่และอปพร. และชาวบ้านให้มีความรู้   การป้องกันภัยฝ่าย   พลเรือน  ได้มีการประชุมชี้แจงและสาธิตการใช้สารเคมี  และวิธีการดับเพลิงจากแก๊ส  น้ำมัน  และการป้องกันภัยอยู่เป็นประจำ  และมีการดูแลควบคุมการสร้างอาคารให้ปลอดภัย  และการควบคุมการจำหน่ายวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น สิ่งไวไฟ    ต่าง ๆ ให้ปลอดภัย